ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก

การนำวิทยุโทรทัศน์มาใช้ในการศึกษา

ข้อสอบกลางภาค ของนายนุกูล แจ้งสว่าง

ตลาดอะไรเนี่ย ....? อยู่ที่กรุงเก่า

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา




เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามีความสำคัญอดย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้



เทคโนโลยี ตามรากศัพท์ แยกได้ 2ส่วนคือ คำว่า เทคโน ( วิธีการ ) และคำว่า โลยี ( วิชา วิทยา ) โซ่งหมายถึงศาสาตร์ที่ว่าด้วยการนำระบบวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพใด ๆ ให้ดีขึ้น
ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 เทคโนโลยี น. วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางาปฏิบัติและทางาอุตสาหกรรม
แฮลเซย์ ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1. เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สเพื่อให้เกิดผลเมื่อได้ปฏิบัติตามจุดมด่งหมายที่ตั้งไว้
2. เป็นผลจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสาตร์เพื่อให้เกิดระเบียบวิธี กระบวนการ และสิ่งประดิษฐ์
3. เกิดวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้บริการตามความต้องการของสังคม


ไฮนิค และคณะ ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ 3 ลักษณะดังนี้
1. ลักษณะที่เป็นกระบวนการ ซึ่งเป็นการ่ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ หรืเป็นการรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ
2. ลักษณะที่เป็นผลผลิต หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตจากการใช้กระบวนการเทคโนโลยี
3. ลักดษฏณะที่ผสมของกระบวนการและผลผลิต ได้แก่
3.1 ลักษณะที่ผสมผสานของกระบวนการและผลผลิต เช่น เทคโนโลยีในการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งต้องใช้ทั้งกระบวนการและเครืองมือซึ่งเป็นผลผลิต เป็นต้น
3.2 ลักษณะของกระบวนการที่ไม่สมารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ซึ่งมีระบบการทำงานซึ่งเป็นปฏิสามพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องและโปรแกรม เป็นต้น


กล่าวโดยสรุปเทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีระบบ

เทคโนโลยการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้หลายท่านดังนี้
1. คาร์เตอร์ วี กู๊ด กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปออกแบยบการเรียนการสอน และส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้ถูกต้องแน่นอน
2. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาว่า หมายถึง ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนให้สูงขึ้น
3. วิจิตร ศรีสะอ้าน กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางาการกศึกษา ทั้งในด้านขยายงานและด้านปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน

โดยสรุป เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายความถึงการนำเอา วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 3-6)
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่
เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน


นวัตกรรมการศึกษา
ตามความหมายของคำสามารถแบ่งได้ 3 ส่วน คือ
นว หมายถึง ใหม่
อัต หมายถึง บุคคล
กรรม หมายถึง การกระทำ การปฏิบัติ หรือความคิด
ฉนั้น นวัตกรรม จึงหมายถึง การกระทำ หรือ แนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางการศึกษาที่บุคคลสร้างขึ้นมาเพื่อปรับปรุงคุณภ่พการศึกษา

กิดานันท์ มลิทอง กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งประดิษฐ์และการปฏิบัติใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรูได้ดีขึ้น และประหยัดเวลาได้อีกด้วย
ชลิยา ลิมปิยากร กล่าวว่า นวัตกรรมการกศึกฏษา หมายถึง วิธีการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ ที่เป็นการกระทำใหม่หรือสิ่งใหม่ที่มีผู้คิดค้นขึ้น หรืออาจจะเป็นเพียงการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือดีขึ้น เพื่อใช้สิ่งนั้นในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่การคิดค้นหรือปรับปรุงนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยที่จะระบุได้แน่ชัดว่าการคิดค้นหรือปรับปรุงนั้น ๆ ทำให้สเกิดผลดีต่อก่ารศึกษาได้อย่างแท้จริง


โดยสรุป นวัตกรรมการศึกษา หามยถึง การนำเอาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา

ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
· บทเรียนสำเร็จรูป
· การสอนเป็นคณะ
· คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· ชุดการเรียนการสอน
· ศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่
· ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่
· ดาวเทียมเพื่อการศึกษา
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การศึกษาทางไกล
· การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ


อ้างอิง :
สมิตรา บุญวาส , เทคโนโลยีการศึกษา , กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี,2546.
สมพร สุขวิเศษ , เอกสารประกอบการสอนรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกาษา , พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชดภัฏพระนครศรีอยุธยา , 2549 .
บทเรียนออนไลด์ มหาวิทยาลัยราชภันครราชสีมา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01001.asp




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น