ตำนานบึงฉวาก ฉบับเต็ม
บนเส้นทางระหว่างอำเภอเดิมบาง- นางบวชจังหวัดสุพรรณบุรีไปอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทกลางบึงเต็มไปด้วย ดอกบัวหลวง ทั้งสีขาวและสีชมพู และในราวเดือนกันยายน – พฤษภาคม จะเห็นเป็ดแดงฝูงใหญ่ลอยตัวจับกลุ่มอยู่ตามกอบัว ที่นี่คือ “บึงฉวาก” ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ ปี 252 เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ในพื้นที่ร่วม 2,000ไร่ นี้ไว้และด้วยความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง . บึงฉวากจึงถูกจัดให้เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2541 ลักษณะที่เรียกมีบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ กว้างไกล สุดสายตาว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตาม อนุสัญญาแรมซาร์นั้นก็คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าวที่เป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตรบึงฉวากนั้นเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสายน้ำท่าจีน เมื่อผ่านระยะเวลาและการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงทำให้ส่วนหนึ่งของแม่น้ำแยกตัวออกมาเป็นบึงรูปโค้ง มีขนาดใหญ่กินพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ก่อนหน้าที่จะประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้น ได้เข้ามาบุกเบิกพัฒนาพื้นที่รอบบึงเมื่อปี พ.ศ.2525 และเห็นว่าบึงฉวากมีธรรมชาติสวยงาม มีนกน้ำจำนวนมากมายอาศัยอยู่ จึงได้ประสานงานไปยังกรมป่าไม้ นับตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2526 เป็นต้นมาเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวากจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นครอบคลุมพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร บึงฉวากรับน้ำจากคลองและทุ่งนาใกล้ๆ จึงมีตะกอนดินโคลนไหลเข้ามาทำให้บึงตื้นเขินนานเข้าพืชน้ำก็ขึ้นรก และเกิดน้ำเน่าเสีย ในปี 2537 จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สภาพธรรมชาติในบึงฉวาก บึงฉวากเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลายชนิด สังคมพืชและสัตว์ที่พบในบึงและบริเวณโดยรอบ ต่างเอื้อต่อการดำรงอยู่ของกันและกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เช่น นกอีโก้ง เป็นนกน้ำที่มีสีน้ำเงินอมม่วงสวยงาม ตัวใหญ่ ขายาวนิ้วตีนยาวเอาไว้เดินบนจอกหรือใบบัวโดยเฉพาะ อาหารโปรดของนกอีโก้ง ได้แก่ หอยโข่ง หอยเชอรี่ ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดศัตรูในนาข้าวไปโดยปริยายส่วนตามชายบึงที่มี พงอ้อ แขม ธูปฤาษี หญ้าชนิดต่างๆ มักจะมีนกน้ำหลายชนิดอาศัยทำรัง เพราะช่วยพรางตาได้ดี และบริเวณใต้น้ำก็มีพืชน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นแหล่งวางไข่ของปลาและแมลง ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำและเป็นอาหารของพวก เต่า ปลา นกน้ำ เมื่อดูบนฝั่งจะเห็นว่ามีพวกไม้ยืนต้น เช่น ตะขบน้ำ จิก สะแกนา ไผ่ พุทรา มะขามเทศ พืชเหล่านี้นอกจากจะช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่งแล้วยังเป็นที่ให้นกอาศัยสร้างรังวางไข่ เช่น นกเขา นกกระจาบนกที่อพยพมาอยู่ที่บึงฉวากทุกปี คือ เป็ดแดง ซึ่งจะเริ่มเห็นข้ามมาอยู่ที่บึงฉวากเป็นฝูง ใหญ่ในช่วงฤดูหนาวตอนกลางวันเราจะเห็นเป็ดแดงหลบพักอยู่ตามกอบัว พอตอนเย็นช่วงใกล้ค่ำก็จะบินโผขึ้นเป็นฝูงใหญ่ออกไปหากินตามทุ่งนา เวลามองไกลๆ จะเห็นว่าบินช้าหัวและคอจะหอยต่ำกว่าลำตัง พร้อมกับส่งเสียงวี๊ด วี๊ด นกเป็ดแดงที่เห็นในบ้านเรามีทั้งที่เป้นนกประจำถิ่นและย้ายถิ่นเข้ามาช่วงฤดูหนาว อาศัยตามทุ่งนา หนองบึง และทะเลสาบทั่วประเทศ พวกที่เป็นนกอพยพจะทยอยบินกลับในเดือนเมษายน และ นกปากห่าง ซึ่งเป้ฯนกขนาดใหญ่ ขนสีเทาเกือบทั้งตัวที่สะโพก ขอบปีก และหางเป็นสีดำ ปากใหญ่ เวลาหุบปากตรงกลางปากจะไม่ติดกัน ทำให้คาบหอยโข่งหรือหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นอาหารโปรดได้ถนัด นกปากห่างเป็นนกที่อพยพเข้ามาประมาณช่วยเดือนตุลาคม หากินและเลี้ยงลูกจนโตจึงจะพากันบินอพยพกลับราวๆ เดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีนกน้ำหลายชนิดที่ชองทำรังเป็นกลุ่มและอยู่ปะปนรวมกันบนกออ้อกอพง และต้นไม้ต้นเดียวกันหรือต้นใกล้ๆ กันเช่น นกแขวก นกกระทุง นกยางควาย นกยางกรอก นกยางเปีย นกยางโทนใหญ่ นกช้อนหอยขาว นกกาน้ำเล็ก โดยสร้างรังด้วยใบอ้อ ใบพงหรือกิ่งไม้เล็กๆ แบบหยาบๆ เป็นกลุ่ม เพื่อช่วยกันระวังภัยและหาอาหารอยู่ตามบึงหรือทุ่งนา เช่น ปลา กบ เขียด กุ้ง หอย ปู แมลง หนู และงูธรรมชาติอันงดงามทั้งหลายเหล่านี้ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวใน บึงฉวากและจะบันทึกอยู่เป็นความทรงจำที่สวยงามของทุกท่านตลอดไป นานเท่านาน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.suphanburi.go.th
การเดินทางโดยรถยนต์เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 160 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ 2 ทาง คือ1. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง สามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนนจนพบ สะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้ว ตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก2. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 151 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้าม สะพานบึงฉวากแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลอง ชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทาน ซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถขึ้นรถโดยสารสถานีหมอชิต – ท่าช้าง หรือสถานีรถ สายใต้ – ท่าช้าง แล้วสงที่ อำเภอเดิมบางนางบวช จากนั้นต้องเหมารถ ไปที่บึงฉวากอีกต่อหนึ่ง
บึงฉวาก/
เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวาก มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอ เดิมบางนางบวช มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น
http://www.moohin.com/019/019m005.shtmlริมบึงฉวากมีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายตลอด ในบริเวณบึง เต็มไปด้วยดอกบัวสีแดงและชมพู ในช่วงตอนเช้าบัวจะบานสวยงาม นกเป็ดแดงฝูงใหญ่จับกลุ่มอยู่ตามกอบัวในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและนกจะทยอยกลับในช่วงเดือนเมษายน มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีบริการขี่จักรยานน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตกางเต็นท์พักแรมริมบึง ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาบึงฉวาก ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแล เช่น สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายากเอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 2 อาคาร อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 1 จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิด เช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงามบรรจุน้ำได้กว่า 400 ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลาได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 10.00–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 09.00–18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9208-9, 0 3543 9190 โทรสาร 0 3543 9208 บ่อจระเข้น้ำจืด เป็นบ่อจระเข้ที่ได้จำลองให้มีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยขนาด 1.5–4.0 เมตร ประมาณ 60 ตัว ซึ่งผู้ชมจะได้เห็นความเป็นอยู่แบบธรรมชาติของจระเข้และสามารถเข้าชมอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ประกอบไปด้วย อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ การดูนก สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของบึงฉวาก มีตู้จำลองระบบนิเวศ ห้องฉายสไลด์วิดีทัศน์ ด้านนอกอาคารมี กรงเลี้ยงนก ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ สูง 25 เมตร ภายในกรงได้รับการตกแต่งให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ
ประกอบด้วยนกกว่า 45 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกาบบัว นกเป็ดแดง ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีการจำลองน้ำตกขนาดเล็กเอาไว้ภายในกรง ผู้เข้าชมจะเดินตามทางเดินที่จัดไว้และได้สัมผัสใกล้ชิดกับนกต่างๆ ที่ปล่อยให้มีชีวิตอยูในสภาพแบบธรรมชาติเดินผ่านหน้าเราไป หากเดินถัดไปจากกรงนก จะเป็นกรงเสือขนาดใหญ่ กรงเสือขนาดเล็ก มีเสือชนิดต่างๆให้ชมและ ที่พิเศษคือ มีลูกเสือดูดนมหมู และสัตว์สวยงามอีกหลายชนิด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00–16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00–18.00 น. โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก โทร. 0 3548 1250กรงเสือและสิงโต ลักษณะภายในตกแต่งเป็นถ้ำและเนินหินให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรงเลี้ยงสัตว์ป่าตระกูลแมว อันได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว แมวดาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกรงสัตว์ป่าหายากอีกหลายประเภทที่จัดแสดงไว้ เช่น นกน้ำ นกยูงและไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ม้าลาย อูฐ และนกกระจอกเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 โทรสาร 0 3543 9210
อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ เฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน โดยรวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วภูมิภาคของประเทศไทยกว่า 500 ชนิด มาปลูกไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงฉวาก มีทั้งสมุนไพร ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก และไม้ชื้นแฉะที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ อุโมงค์น้ำพุ และการจัดสวนไม้ประดับด้วยผักพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินจัดแสดงให้ชมด้วย และมีห้องสมุดบริการคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้าข้อมูลพันธุ์ผักต่างๆ ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรอุทยานผักพื้นบ้านฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1948 9214, 0 9836 1358 โทรสาร 0 3543 9208 หรือ สำนักงานเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 0 3557 8061
การเดินทาง จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทาง คือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทานอีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 340 หลักกิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือจะเห็นโรงเรียนวัดเดิมบางนางบวช ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียน ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบึงฉวาก
"บึงฉวาก" สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา
ชั่วโมงสุดท้ายของวันทำงาน คือสิ่งที่หลายคนเร่งให้ผ่านพ้นไปเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้พบกับช่วงเวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่แม้จะมีเพียงแค่ ๔๘ ชั่วโมง หากแต่ก็มากพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังโต๊ะทำงาน กับสถานที่พักผ่อนที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ
สุพรรณบุรี คือหนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวที่ที่อยู่ในสเปคดังกล่าว แถมยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี นอกจากเรื่องราวในอดีตของจังหวัดสุพรรณบุรี จะเป็นที่น่าสนใจแล้ว สิ่งที่เป็นไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งของ จังหวัดสุพรรณฯ ในวันนี้ก็คือ "บึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติ" ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๓ ตำบลของอำเภอเดิมบางนางบวช
ส่วนด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีความกว้างเฉลี่ย ๔๑๓ เมตรยาว ๖๕ กิโลเมตร ลึก ๒.๕ เมตร ความยาวโดยรอบบึงประมาณ ๑๕ กิโลเมตร รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๕๕๐ ไร่ กักเก็บน้ำได้ประมาณ ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร
ปัจจุบัน บึงฉวากได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ หรือ Underwater World ซึ่งเป็นโครงการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๕๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
ภายในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ได้รับการแบ่งโซนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำออกเป็น ๒ หลัง โดยหลังที่หนึ่งจะจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด และน้ำเค็มที่น่าสนใจ ไปจนถึงพันธุ์ปลาที่หาดูได้ยากในประเทศไทย ซึ่งก็มีทั้ง ปลาบึก ปลาม้า ปลาเสือตอ ฯลน รวมถึงปลาสวยงามชนิดต่างๆ อีกมากมาย ที่บางตัวก็มีรูปร่างประหลาด และเรียกความสนใจจากนักท่องเที่ยว ให้มาออกันอยู่น่าตู้กระจกอย่างไม่ว่างเว้น
ส่วนอาคารหลังที่สอง นักท่องเที่ยวจะได้พบกับตู้ปลาขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำได้ถึง ๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยมีอุโมงค์ยาวประมาณ ๘.๕ เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย
โดยภายในอุโมงค์จะมีพันธุ์ปลาน้ำจืดให้ศึกษากว่า ๒๒ สายพันธุ์เลยทีเดียว เป็นต้นว่า ปลาบึกขนาดใหญ่ ที่แวกว่ายอวดความงามให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพไปเป็นที่ระลึก รวมถึงการแสดงการให้อาหารปลาโดยนักประดาน้ำหญิงให้นักท่องเที่ยวได้ชมทุกวัน
นอกจากนี้ในส่วนโซน ๒ ของอาคารหลังนี้ ยังมีตู้ปลาขนาด ๑ ตัน อีก ๓๐ ตู้ และมีปลาสีสันสวยงาม รวมถึงปลารูปร่างแปลกอีกกว่า ๖๐ ชนิด ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลิน อาทิ ปลาไหลไฟฟ้า ปลากลับหัว ฯลฯ
"ภาพของบึงฉวากวันนี้ พร้อมแล้วครับสำหรับนักท่องเที่ยว คือเรามีโซนต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมมากมาย ซึ่งนอกจากโลกใต้น้ำแล้ว บนพื้นดิน เราก็มีสวนสัตว์ และอุทยานผักพื้นบ้าน ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเที่ยวชม"
"และอนาคตอันใกล้นี้ เราจะมีอาคารหลังที่สามเกิดขึ้น เป็นลักษณะอุโมงค์น้ำเค็ม ซึ่งมีขนาดความยาวกว่าอุโมงค์ปลาน้ำจืด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสามปีข้างหน้า" ประสิทธิ์ เวทประสิทธิ์ นักวิชาการประมง ที่ดูแลสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ พูดถึงโครงการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่บึงฉวาง
ระยะเวลากว่า ๓ ชั่วโมง สำหรับการท่องโลกใต้บาดาลที่บึงฉวาก ฟังดูอาจจะค่อนข้างนานในความรู้สึกของหลายๆ คน แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าลองได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง แล้วจะรู้ว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นทำไมถึงผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน
การเดินทางโดยรถยนต์ เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ ๒ ทางคือ
๑. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๔๗ ด้านซ้ายมือจะมีป้างทางเข้าบึงฉวาก และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไป เมื่อถึง ๓ แยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพาน แล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
๒. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๕๑ ด้านซ้ายมือจะมีป้ายทางเข้าบึงฉวาก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้ามสะพานบึงฉวาก แล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง ๓ แยก ตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
ค่าบัตรเข้าชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท / เด็ก ๑๐ บาท สอบถามรายละเอียดโทร. ๐-๓๕๔๓-๙๒๐๘-๙
ที่มา : "เที่ยวรอบทิศ : " บึงฉวาก " สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา." ผู้จัดการ. (๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗) หน้า ๓๖
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://info.stc.ac.th/technic/pege_1.htm และภาพ+ข้อมูลจาก http://weblibrary.rimc.ac.th
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.spo.moph.go.th/tour/chavak/chavak.htm
เปิดบริการ >>วันธรรมดา เวลา 10.00-17.00 น. วันหยุดราชการ เวลา 9.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น