สารสนเทศการศึกษาคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกันถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ
1. ความหมายของระบบข้อมูลสารสนเทศ คำว่า “ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” มีความหมายแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กันมากกล่าวคือ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ตัวเลข ภาษา หรือสัญลักษณ์ ที่ใช้แทนคน สิ่งของและความคิด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมไว้โดยไม่ผ่านการประเมิน การวิเคราะห์ ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ทันที เช่น ชื่อ ที่อยู่ จำนวน ปริมาณ เป็นต้น สารสนเทศ (Information) บางแห่งก็เรียกข้อสนเทศหรือสารนิเทศ หมายถึง การนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดกระทำ วิเคราะห์
สารสนเทศ (Information) บางแห่งก็เรียกข้อสนเทศหรือสารนิเทศ หมายถึง การนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดกระทำ วิเคราะห์ หรือ ประมวล เพื่อให้มีความหมายหรือมีคุณค่าในการตัดสินใจ เช่น ผลจากการประเมินนักเรียน ผลจากการประเมินโรงเรียน เป็นต้น
ตัวอย่าง
เรามีข้อมูลจำนวนนักเรียน จำนวนครูในโรงเรียน เมื่อนำมาจัดกระทำให้อยู่ในรูปของสารสนเทศเราอาจจะได้จำนวนนักเรียน จำแนกตามเพศ ชั้น หรืออัตราส่วนครูต่อนักเรียน ฯลฯ
จากความหมายดังกล่าว โรงเรียนทุกโรงเรียนจึงต้องมีทั้งข้อมูลและสารสนเทศ ความสัมพันธ์นี้จะเห็นชัดในแผนภูมิต่อไปนี้
ฉะนั้น ระบบข้อมูลและสารสนเทศก็คือระบบการเก็บและการจัดกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด ในความหมายนี้จะเห็นว่าทุกโรงเรียนจำเป็นต้องมีระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อประกอบการบริหารและการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ภายในโรงเรียน
2. ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา
ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา อย่างมีหลักและเหตุผลของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ดังนี้
1. สำหรับผู้บริหารระดับสูง ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารและวางแผนพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการควบคุมติดตามและประเมินผลของแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไปแล้ว
2. ผู้บริหารระดับกลางและระดับปฏิบัติจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาในการควบคุมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามแผนหรือเป้าหมาย
3. ผู้บริหารระดับห้องเรียน (ครู) จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอนในทุก ๆ ทาง เป็นการควบคุมการปฏิบัติงานในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ
4. สำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไป เช่น นักวิจัย นักวิชาการ หรือนักการศึกษา จะมีประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานทางวิชาการ ช่วยในการกการตัดสินใจที่มีเหตุผล หรือเพื่อแสวงหาความรู้ ทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
3. คุณสมบัติของข้อมูลและสารสนเทศที่ดี ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับใช้ประกอบการดำเนินงานต่าง ๆ ควรจะมีคุณสมบัติสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1. มีความเป็นปัจจุบัน คือต้องทันต่อการใช้ประโยชน์ ไม่ช้าจนไม่สามารถใช้บอกสถานการณ์ หรือแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ได้ และไม่ช้าจนนำมาเป็นแนวทางวางแผนปรับปรุงงานไม่ได้ ควรจะมีการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม
2. ตรงต่อความต้องการ ข้อมูลและสารสนเทศชุดหนึ่งอาจมีคุณค่าต่อการใช้งานหนึ่งแต่ไม่ตรงต่อความต้องการของอีกงานหนึ่ง ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในงานนั้นต่อไป
3. มีความถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากข้อมูลและสารสนเทศมีความเป็นปัจจุบันและตรงต่อความต้องการ หากขาดความถูกต้องแล้ว การนำไปใช้ประโยชน์ก็อาจจะกลายเป็นโทษ เพราะทำให้มีการตัดสินในที่ผิดพลาด ฉะนั้นในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นตลอดจนการประมวลผลจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก
ข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บรวบรวมไว้จะให้ประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อมีการนำไปใช้ โอกาสของการนำไปใช้ นอกจากจะอยู่ที่การเห็นความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศแล้ว ยังต้องประกอบด้วยความพร้อมที่จะใช้ได้ตามต้องการ ซึ่งจะต้องมีการจัดระบบการรวบรวม การประมวลผล การจัดจำแนกหมวดหมู่ การเก็บรักษาที่สามารถหยิบใช้สะดวกรวดเร็ว ฉะนั้นทุกโรงเรียนจึงต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ อาจเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเรียนซึ่งบุคคลกลุ่มนี้จะต้องรับผิดชอบ วางแผน ประสานงาน เก็บข้อมูลในโรงเรียน โดยมีครูทุกคนให้ความร่วมมือ เช่น อาจจะช่วยเก็บข้อมูลในส่วนที่ตนเองสอนหรือรับผิดชอบ สำหรับรายละเอียดในเรื่องการรวบรวม ระยะเวลา แหล่งข้อมูล วิธีการหาและทำให้เป็นปัจจุบันไม่กล่าวถึง เพราะโรงเรียนสามารถดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้วนอกจากนี้หน่วยงานต้นสังกัดก็ให้เจ้าหน้าที่มาอบรมพร้อมทั้งแจกเอกสารและคู่มือแก่โรงเรียนเป็นประจำ ฉะนั้นในเอกสารนี้จะเสนอแนะวิธีการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ ที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดคุณสมบัติของข้อมูลและสารสนเทศที่ดีและลักษณะของระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุดเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งเป็น 5 เรื่อง คือ
1. หน้าที่ของผู้รับผิดชอบและครูอาจารย์ในโรงเรียน 2. สถานที่เก็บข้อมูลและสารสนเทศ 3. ระบบการจัดเก็บ 4. ระบบการนำไปใช้ 5. การเก็บรักษาข้อมูลและสารสนเทศ
1. หน้าที่ของผู้รับผิดชอบและครูอาจารย์ในโรงเรียน ความจริงครูทุกคนมีส่วนรับผิดชอบกับข้อมูลในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่ก็จำเป็นจะต้องมีครูคนหนึ่งคนใดหรือคณะหนึ่งคณะใดรับผิดชอบเฉเพาะในการดำเนินงาน เพื่อวางแนวทางและจัดระบบให้มีการนำข้อมูลต่าง ๆ ภายในโรงเรียนไปใช้ได้ตลอดเวลา ซึ่งหลายโรงเรียนก็จัดทำได้ดี หน้าที่ที่จะแนะนำนี้เป็นงานที่โรงเรียนเล็ก ๆ สามารถจะทำได้ทันที สำหรับโรงเรียนใหญ่การจะเพิ่มเติมวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพขึ้นก็คงไม่มีปัญหา ในที่นี้จะแบ่งหน้าที่เป็น 2 ส่วน คือ
1. 1 หน้าที่ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบโดยตรง
1) เก็บและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นของโรงเรียนและข้อมูลอื่นตามที่ผู้บริหารต้องการโดยข้อความร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียน 2) จัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ อาจแยกเป็นแฟ้ม หรือใส่ตู้เก็บเอกสารแล้วทำดัชนีไว้เพื่อสะดวกแก่การค้นหาและนำไปใช้ ในกรณีนี้ครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะเป็นผู้ช่วยและให้คำแนะนำที่ดีได้ 3) ประสานงานกับหน่วยงาน หมวดหรือกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในโรงเรียนเพื่อแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ตลอดจนกำหนดรายการและทำความเข้าใจกับแบบเก็บข้อมูลที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติม 4) วิเคราะห์ ประมวลผล หรือจัดกระทำข้อมูลที่นอกเหนือจากที่หมวดหรือกลุ่มวิชาหรือฝ่ายต่าง ๆ ในโรงเรียนทำไว้ตามความจำเป็นของโรงเรียนเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในเรื่องการวางแผน การปฏิบัติงาน การควบคุมการดำเนินงาน และการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน 5) พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเสมอ 6) จัดทำรายงานและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียน 7) ให้บริการข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 8) เป็นที่ปรึกษาแก่คณะครู – อาจารย์ในโรงเรียน
1.2 หน้าที่ของครู – อาจารย์อื่นในโรงเรียน
1) เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตน เช่น การจัดการเรียนการสอน คะแนนนักเรียน อาจมีสำเนาให้หัวหน้าหมวด/หัวหน้ากลุ่มหรือผู้รับผิดชอบงานข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียนตามความจำเป็น 2) จัดระบบข้อมูลที่ตนรวบรวมไว้ให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายแก่การหยิบใช้ 3) ให้ความร่วมมือ และประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียนในการเก็บและรวบรวมข้อมูล 4) แก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งแจ้งให้งานข้อมูลและสารสนเทศทราบ 5) วิเคราะห์ประมวลผลขั้นต้น เฉพาะส่วนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน แล้วส่งสำเนา ให้งานข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียนทรายตามความจำเป็น
2. สถานที่เก็บข้อมูลสารสนเทศ ในเรื่องนี้ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้และให้บริการข้อมูลด้วย ในโรงเรียนขนาดใหญ่จะไม่มีปัญหา เพราะสามารถเก็บไว้เป็นสัดส่วน เช่น ในห้องวิชาการ ห้องแนะแนว ห้องวัดผลได้ แต่โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีห้องเป็นสัดส่วนเก็บไว้ มีห้องพักครูเพียงห้องเดียวอยู่รวมกันหมด สามารถแก้ปัญหาได้โดยจัดไว้มุมหนึ่งของห้องสมุด เป็นส่วนที่มีลักษณะคล้ายมุมหนังสืออ้างอิง ผู้ใดจะมาหยิบไปโดยไม่บอกหรือไม่ขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ในกรณีนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหา เพราะโรงเรียนมีห้องสมุด อย่างไรก็ดีมีหลักที่จะให้พิจารณาคือ ถ้าเก็บข้อมูลสารสนเทศไว้ที่หน่วยใดหน่วยหนึ่งเพียงแห่งเดียวมีข้อดีคือ ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณและอุปกรณ์การทำงาน แต่มีข้อเสียคือ ถ้าครูอาจารย์ต้องการใช้ข้อมูลเฉพาะเรื่องจะขาดความคล่องตัวในการทำงาน แต่ถ้าเก็บแยกไว้ตามฝ่ายนั้น ข้อดีคือ การนำมาใช้สะดวก รวดเร็ว เหมาะกับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นความลับหรือไม่ประสงค์จะเปิดเผยแพร่หลาย ข้อเสียคือ ไม่ประหยัดและวิธีการปฏิบัติงานอาจไม่เป็นระบบเดียวกันฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ คือ นำทั้งสองวิธีการมาผสมผสานกัน ได้แก่ การเก็บข้อมูลและสารสนเทศไว้ในสถานที่ที่เป็นศูนย์กลาง และกระจายอยู่ตามหมวด/กลุ่มวิชาหรือฝ่ายที่รับผิดชอบตามลักษณะของข้อมูล
3. ระบบการจัดเก็บ ความจริงระบบการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศนั้น เราสามารถประยุกต์มาจากระบบการจัดเอกสาร ซึ่งมีหลายประเภท เช่น การเรียงตามตัวอักษรตามลำดับเรื่อง หรือเรียงตามลำดับตัวเลขที่กำหนดให้ สำหรับข้อมูลและสารสนเทศในโรงเรียนนั้นอาจจะแบ่งตามประเภท/หมวดที่กำหนด แล้วจำแนกเป็นรายชั้นปี หลังจากนั้นจะกำหนดรหัสเป็นตัวเลขหรือไม่ก็สุดแต่ความเหมาะสม เมื่อตัดสินใจได้ประกอบกับกำหนดสถานที่เก็บข้อมูลสารสนเทศแล้ว ควรดำเนินการดังนี้
ตู้และแฟ้มข้อมูลต้องมีป้ายบอกรายละเอียดของรายการข้อมูลและสารสนเทศ
ควรมีสมุดบันทึกรายการข้อมูลและสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดจำแนกตามแหล่งที่เก็บ (เก็บห้องใด ตู้ใด ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ฯลฯ) ลำดับก่อนหลังของการได้ข้อมูล หากให้รหัสหรือทำดัชนี ควรระบุไว้ด้วย
ข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้บ่อยควรจัดไว้ในตำแหน่งที่หยิบได้ง่าย
การใช้แฟ้มควรแยกเป็นชุด ๆ ไม่นำข้อมูลมาปนกันในแฟ้มใดแฟ้มหนึ่ง ควรมีแฟ้มเบ็ดเตล็ดสำหรับข้อมูลที่ยังดำเนินการไม่เรียบร้อย
4. ระบบการนำไปใช้ ผู้ที่จะใช้ข้อมูลของโรงเรียนนั้นมีทั้งบุคคลภายนอก และบุคคลภายในโรงเรียนเอง ถ้าแบ่งตามลักษณะข้อมูลและสารสนะเทศจะได้ 2 ลักษณะคือ
4.1 ข้อมูลและสารสนเทศที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นงานของหมวด/กลุ่มวิชาหรือฝ่ายใด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน การวางนโยบาย หรือข้อมูลโดยทั่ว ๆ ไป หากผู้บริหาร ครูในโรงเรียน หรือบุคคลภายนอกต้องการใช้ ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลและสารสนเทศโดยตรงจะเป็นผู้ดำเนินการ 4.2 ในกรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่เจาะลึกเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ตลอดจนเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลอาจจะมีรายละเอียดไม่เพียงพอก็จะต้องประสานงานและมอบให้หมวดวิชา หรือครู-อาจารย์ที่รับผิดชอบข้อมูลด้านนี้โดยตรง
สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการมีประเด็นสำคัญที่ควรทราบ 3 ประการ คือ
1) เมื่อมีผู้มาขอใช้บริการ ควรมีสมุดบันทึกการยืม เพื่อทราบว่าข้อมูลหรือสารสนเทศที่ขาดหายไปจากแฟ้มหรือตู้เก็บข้อมูลนั้น ขณะนี้อยู่ที่ผู้ใด และลงบันทึกเมื่อได้รับคืนแล้ว 2) ถ้ามีบุคคลภายนอก เช่น นักวิจัยจากหน่วยงานอื่น นิสิต นักศึกษา มาขอยืม ครู–อาจารย์ ผู้ให้บริการจะเป็นผู้ลงบันทึกการยืม และรับผิดชอบในการนำไปคืนให้เรียบร้อย 3) ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลและสารสนเทศในโรงเรียนต้องมีหน้าที่ติดตามทวงคืน ไม่ให้ข้อมูลและสารสนเทศขาดหายไปเป็นระยะเวลายาวนาน และข้อมูลที่แต่ละฝ่ายในโรงเรียนรับผิดชอบก็ควรดำเนินการเช่นเดียวกัน
5. การเก็บรักษาข้อมูลสารสนเทศ การเก็บรักษาข้อมูลและสารสนเทศ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
5.1 การเก็บรักษาในระหว่างใช้ข้อมูลและสารสนเทศ ครู-อาจารย์ ที่ขอยืมไม่ว่าจะนำมาใช้เองหรือบริการผู้ใดผู้หนึ่ง ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ 5.2 ในกรณีที่ข้อมูลและสารสนเทศไม่ได้อยู่ในช่วงใช้งาน ผู้รับผิดชอบของโรงเรียนจะเป็นผู้เก็บรักษา
ในการดูแลรักษานั้นต้องให้ความสำคัญของสภาพข้อมูล ไม่ให้ชำรุด สูญเสียหายหรือถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงโดยไม่ทราบที่มา สำหรับข้อมูลและสารสนเทศที่ไม่มีประโยชน์อาจทำลายโดยดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ เช่น ผ่านการอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
จากที่เสนอมาทั้งหมดนี้ ถ้าหากจะนำไปเป็นแนวปฏิบัติจริง ๆ จะเห็นว่าไม่เกินความสามารถของผู้บริหาร ครู ทุกคนในโรงเรียน ทุกระดับสามารถจัดทำได้ และหากผู้รับผิดชอบเฉพาะไม่อยู่ ก็ควรจะมีผู้อื่นช่วยในการให้บริการได้ด้วยผลของการจัดระบบดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะไม่เพิ่มภาระแก่ครูแล้ว ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าเป็นการลดภาระงานของครูด้วย ถ้ามีการปฏิบัติเป็นระบบ อย่างสม่ำเสมอ ด้วยความรับผิดชอบ และด้วยการเห็นคุณค่า7. การนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อการวิจัยในชั้นเรียน
ระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ดีในโรงเรียน นอกจากจะเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้โดยทั่วไปแล้ว ยังช่วยให้ครูที่จะทำงานวิจัยมีความสะดวก ประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการทำงานและสามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองด้วย ระบบข้อมูลและสารสนเทศจะให้ประโยชน์ต่อการทำวิจัยแก่ครูโดยตรงในเรื่องของแหล่งข้อมูล เครื่องมือ และการเก็บรวบรวมข้อมูล กล่าวคือ ถ้าโรงเรียนมีการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ดีแล้ว ในการทำวิจัยจะลดขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าจะศึกษาภูมิหลังของนักเรียนว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนนคุณลักษณะหรือไม่ ครูไม่จำเป็นต้องสร้างแบบสอบถาม หรือแบบทดสอบขึ้นมาใหม่ เพื่อให้นักเรียนตอบ แต่ครูสามารถไปค้นหาสิ่งที่ต้องการจากงานข้อมูลและสาระสนเทศของโรงเรียนมาทำการวิเคราะห์ได้เลย เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจะแสดงแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนการวิจัยกับระบบข้อมูลและสารสนเทศดังต่อไปนี้
ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา
ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา อย่างมีหลักและเหตุผลของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ดังนี้
1. สำหรับผู้บริหารระดับสูง ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารและวางแผนพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการควบคุมติดตามและประเมินผลของแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไปแล้ว
2. ผู้บริหารระดับกลางและระดับปฏิบัติจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาในการควบคุมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามแผนหรือเป้าหมาย
3. ผู้บริหารระดับห้องเรียน (ครู) จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอนในทุก ๆ ทาง เป็นการควบคุมการปฏิบัติงานในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ
4. สำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไป เช่น นักวิจัย นักวิชาการ หรือนักการศึกษา จะมีประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานทางวิชาการ ช่วยในการกการตัดสินใจที่มีเหตุผล หรือเพื่อแสวงหาความรู้ ทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
4. ลักษณะของระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุด
ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดนั้นควรมีลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้ ค้นหาข้อมูลได้ง่าย นำมาใช้สะดวกและรวดเร็วตรงกับความต้องการและทันกับความต้องการ ตลอดจนต้องมีความประหยัดในการเก็บรักษาและใช้บริการด้วย ฉะนั้น ระบบข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานหรือโรงเรียน ควรตอบสนองความจริงเบื้องต้น 3 ประการ คือ
1. สามารถบอกแหล่งให้ผู้ใช้ได้ว่าจะหาข้อมูลหรือสารสนเทศได้จากที่ใด เช่น ห้องวิชาการ ห้องแนะแนว หรือห้องสมุด เป็นต้น2. เมื่อผู้ใช้ต้องการ สามารถนำข้อมูลหรือสารสนเทศมาให้ถึงมืออย่างถูกต้องตรงกับความต้องการ3. ต้องสนองได้ภายในเวลาจำกัด เมื่อผู้ใช้แสดงความต้องการ จะต้องมีระบบที่ดีมีผู้รับผิดชอบและผู้ร่วมรับผิดชอบ ซึ่งสามารถทำงานแทนกันได้
5. ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาในโรงเรียน
ทุกโรงเรียนต้องมีการจัดเก็บรวบรวมสถิติข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนกระทำในรูปสารสนเทศอยู่แล้ว จะมากน้อยเพียงใดและมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ และความต้องการของหน่วยงานต้นสังกัด จากการวิเคราะห์ข้อมูลโรงเรียนในปัจจุบัน พบว่าโรงเรียนและสถานศึกษาส่วนใหญ่จะมีการรวบรวมข้อมูลประมาณ 12 หมวด ซึ่งจะจัดเก็บในรูปข้อมูลและจัดกระทำในรูปสารสนเทศ ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1. ข้อมูลนักเรียน
2. ข้อมูลบุคลากร เช่นครู คนงาน และภารโรง
3. ข้อมูลการเรียนการสอน
4. ข้อมูลการเงิน
5. ข้อมูลอาคารสถานที่
6. ข้อมูลครุภัณฑ์
7. ข้อมูลห้องสมุด
8. ข้อมูลโสตทัศนศึกษา
9. ข้อมูลอนามัยโรงเรียน
10. ข้อมูลประชากรและสิ่งแวดล้อม
11. ข้อมูลประชาสัมพันธ์โรงเรียน
12. ข้อมูล คำสั่ง กฎ ระเบียบ ปฏิทินปฏิบัติงาน และ แผนปฏิบัติการของโรงเรียน
จากการที่โรงเรียนทุกโรงต้องมีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ปัญหาหนึ่งที่พบโดยทั่วไป คือ ปริมาณและความหลากหลายของข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาต่อการจำแนก จัดเก็บและเลือกใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ จึงได้มีคณะทำงานนำหลักการและแนวความคิดในการกำหนดข้อมูลพื้นฐาน มาวางแผนและกำหนดข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา เป็น 6 ประเภท คือข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน ผู้สำเร็จการศึกษา โรงเรียน/สถานศึกษา งบประมาณ ครู/อาจารย์และบุคลากร และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หลังจากนั้นคณะที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบข้อมูลสถิติและสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดตัวแปรที่ถือเป็นรายการที่ทุกโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการต้องรวบรวม และกรอกในแบบฟอร์มมาตรฐานถึงศูนย์สารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเริ่มใช้ทั่วประเทศในปีการศึกษา 2532 ตัวแปรดังกล่าวได้แก่ ตัวแปรด้านผู้เรียน บุคลากร อาคารสถานที่ และด้านสภาพแวดล้อม
เมื่อพิจารณาทั้งหมดที่กล่าวมา ประกอบกับความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน สามารถจำแนกข้อมูลและสารสนเทศที่ทุกโรงเรียนจำเป็นต้องมีออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก. ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ข. ข้อมูลและสารสนเทศประกอบการวางแผนและพัฒนา ก. ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ข้อมูลดิบและข้อมูลที่จัดกระทำให้อยู่ในรูปสารสนเทศทางการศึกษา ซึ่งจำเป็นต่อการวางแผนและการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง เป็นสิ่งที่ควรจัดเก็บให้ง่ายต่อการค้นหา เพราะนอกจากจะใช้ประโยชน์ในโรงเรียนแล้วหน่วยงานภายนอกส่วนใหญ่ยังต้องการข้อมูลเหล่านี้ประกอบการวางแผนการวิจัยเฉพาะเรื่อง ข้อมูลดังกล่าวได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
1. นักเรียน 1.1 จำนวนนักเรียน จำแนกตามชั้น เพศ ภูมิลำเนา และอาชีพผู้ปกครอง 1.2 จำนวนนักเรียนเข้าใหม่ชั้นปีที่ 1 (ป.1 หรือ ม.1 หรือ ม.4) 1.3 จำนวนนักเรียนเลื่อนชั้นจำแนกตาม ชั้น เพศ 1.4 จำนวนนักเรียนซ้ำชั้น จำแนกตามชั้น เพศ 1.5 จำนวนนักเรียนออกกลางคัน จำแนกตามชั้น เพศ 1.6 จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา จำแนกตามเพศ
2. โรงเรียน 2.1 จำนวนห้องเรียน จำแนกตามรายชั้น 2.2 จำนวนห้องประกอบการเรียน 2.3 จำนวนห้องเรียนและห้องประกอบการเรียนที่ใช้การได้ดีและชำรุด
3. งบประมาณ จำนวนงบประมาณการศึกษา จำแนกตามแผนงาน/โครงการ หมวด ค่าใช้จ่าย งบลงทุน-งบดำเนินการ และแหล่งงบประมาณ จำนวนรายจ่ายจริง จำแนกตามแผนงาน/โครงการ หมวดค่าใช้จ่าย งบลงทุน และงบดำเนินการ จำนวนรายได้ของสถานศึกษา
4. คร -อาจารย์ 4.1 จำนวนครู–อาจารย์ จำแนกตามเพศ วุฒิ วิชาเอก ระดับชั้นการศึกษาที่สอน 4.2 จำนวนครู–อาจารย์ สะพัด จำแนกตามครูบรรจุใหม่ ครูที่ออกจากสถานภาพครู ครูศึกษาต่อ ครูที่โอน ครูที่ย้ายหรือช่วยราชการ ครูลาด้วยเหตุ ต่าง ๆ
ข. ข้อมูลและสารสนเทศประกอบการวางแผนและพัฒนา ได้แก่ ข้อมูลและสารสนเทศที่นำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ การพัฒนาการศึกษาในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับโรงเรียน ห้องเรียน จนถึงตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นส่วนที่เน้นการใช้ประโยชน์ภายในโรงเรียน ควรจัดเก็บเป็นสัดส่วนเฉพาะ แยกจากข้อมูลทั่วไป ได้แก่เรื่องต่อไปนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำแนกตามชั้น เพศ หน่วยงานที่ ประเมิน
2. ผลการประเมินนักเรียนในด้านคุณลักษณะ บุคลิกภาพ ความสนใจ ความถนัด จำแนกตามชั้น เพศ หน่วยงานที่ประเมิน
3. รางวัลดีเด่นต่าง ๆ ที่นักเรียนในโรงเรียนได้รับ
4. ผลการติดตามนักเรียนที่จบชั้นประโยค (ป.6 หรือ ม.3 หรือ ม.6 ) มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพการเรียนต่อ การประกอบอาชีพ
5. รายงานการประเมินโรงเรียน มีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อหน่วยงานที่ประเมิน ชื่อโครงการวิจัย/แผนงาน วันเวลาที่ประเมิน วิธีการโดยสรุป (วัตถุประสงค์ ผู้ถูกประเมิน/กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้) และผลการประเมิน(ถ้ามี)
6. ชื่อโครงการ( กิจกรรมพิเศษในโรงเรียน) ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบ แผนดำเนินงาน หน่วยงานที่ร่วม (ถ้ามี) และผลการดำเนินงาน
7. รายการปัญหาการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนและการดำเนินการแก้ไข
8. การจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
http://www.chittrapa.net/index.php?option=com_content&task=view&id=35&Itemid=36
http://www.blog.eduzones.com/futurecareer/21647
http://www.chittrapa.net/index.php?option=com_content&task=view&id=35&Itemid=36
http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm
http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/index.htm
http://www.school.net.th/library/snet1/network/it/index.html
http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/techno.html
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htm
http://dusithost.dusit.ac.th/~ranong2/KM&R/tec2.doc
http://kulratee.multiply.com/journal/item/3
คำถาม
1.สารสนเทศทางการศึกษาหมายถึงอะไร.....................................
2.จงบอกประโยชน์ของสารสนเทศทางการศึกษา.................................................
3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร.................................................
4.ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาในโรงรียนมีอะไรบ้าง................................................
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามีความสำคัญอดย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้
เทคโนโลยี ตามรากศัพท์ แยกได้ 2ส่วนคือ คำว่า เทคโน ( วิธีการ ) และคำว่า โลยี ( วิชา วิทยา ) โซ่งหมายถึงศาสาตร์ที่ว่าด้วยการนำระบบวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพใด ๆ ให้ดีขึ้น
ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 เทคโนโลยี น. วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางาปฏิบัติและทางาอุตสาหกรรม
แฮลเซย์ ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1. เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สเพื่อให้เกิดผลเมื่อได้ปฏิบัติตามจุดมด่งหมายที่ตั้งไว้
2. เป็นผลจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสาตร์เพื่อให้เกิดระเบียบวิธี กระบวนการ และสิ่งประดิษฐ์
3. เกิดวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้บริการตามความต้องการของสังคม
ไฮนิค และคณะ ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ 3 ลักษณะดังนี้
1. ลักษณะที่เป็นกระบวนการ ซึ่งเป็นการ่ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ หรืเป็นการรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ
2. ลักษณะที่เป็นผลผลิต หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตจากการใช้กระบวนการเทคโนโลยี
3. ลักดษฏณะที่ผสมของกระบวนการและผลผลิต ได้แก่
3.1 ลักษณะที่ผสมผสานของกระบวนการและผลผลิต เช่น เทคโนโลยีในการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งต้องใช้ทั้งกระบวนการและเครืองมือซึ่งเป็นผลผลิต เป็นต้น
3.2 ลักษณะของกระบวนการที่ไม่สมารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ซึ่งมีระบบการทำงานซึ่งเป็นปฏิสามพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องและโปรแกรม เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปเทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีระบบ
เทคโนโลยการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้หลายท่านดังนี้
1. คาร์เตอร์ วี กู๊ด กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปออกแบยบการเรียนการสอน และส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้ถูกต้องแน่นอน
2. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาว่า หมายถึง ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนให้สูงขึ้น
3. วิจิตร ศรีสะอ้าน กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางาการกศึกษา ทั้งในด้านขยายงานและด้านปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
โดยสรุป เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายความถึงการนำเอา วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 3-6)
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่
เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 3-6)
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่
เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษา
ตามความหมายของคำสามารถแบ่งได้ 3 ส่วน คือ
นว หมายถึง ใหม่
อัต หมายถึง บุคคล
กรรม หมายถึง การกระทำ การปฏิบัติ หรือความคิด
ฉนั้น นวัตกรรม จึงหมายถึง การกระทำ หรือ แนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางการศึกษาที่บุคคลสร้างขึ้นมาเพื่อปรับปรุงคุณภ่พการศึกษา
กิดานันท์ มลิทอง กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งประดิษฐ์และการปฏิบัติใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรูได้ดีขึ้น และประหยัดเวลาได้อีกด้วย
ชลิยา ลิมปิยากร กล่าวว่า นวัตกรรมการกศึกฏษา หมายถึง วิธีการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ ที่เป็นการกระทำใหม่หรือสิ่งใหม่ที่มีผู้คิดค้นขึ้น หรืออาจจะเป็นเพียงการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือดีขึ้น เพื่อใช้สิ่งนั้นในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่การคิดค้นหรือปรับปรุงนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยที่จะระบุได้แน่ชัดว่าการคิดค้นหรือปรับปรุงนั้น ๆ ทำให้สเกิดผลดีต่อก่ารศึกษาได้อย่างแท้จริง
โดยสรุป นวัตกรรมการศึกษา หามยถึง การนำเอาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
· บทเรียนสำเร็จรูป
· การสอนเป็นคณะ
· คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· ชุดการเรียนการสอน
· ศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่
· ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่
· ดาวเทียมเพื่อการศึกษา
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การศึกษาทางไกล
· การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
· บทเรียนสำเร็จรูป
· การสอนเป็นคณะ
· คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
· ชุดการเรียนการสอน
· ศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่
· ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่
· ดาวเทียมเพื่อการศึกษา
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การศึกษาทางไกล
· การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
อ้างอิง :
สมิตรา บุญวาส , เทคโนโลยีการศึกษา , กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี,2546.
สมพร สุขวิเศษ , เอกสารประกอบการสอนรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกาษา , พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชดภัฏพระนครศรีอยุธยา , 2549 .
บทเรียนออนไลด์ มหาวิทยาลัยราชภันครราชสีมา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01001.asp
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ท่องเที่ยวบึงฉวาก เดิมบางนางบวช
ตำนานบึงฉวาก ฉบับเต็ม
บนเส้นทางระหว่างอำเภอเดิมบาง- นางบวชจังหวัดสุพรรณบุรีไปอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทกลางบึงเต็มไปด้วย ดอกบัวหลวง ทั้งสีขาวและสีชมพู และในราวเดือนกันยายน – พฤษภาคม จะเห็นเป็ดแดงฝูงใหญ่ลอยตัวจับกลุ่มอยู่ตามกอบัว ที่นี่คือ “บึงฉวาก” ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ ปี 252 เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ในพื้นที่ร่วม 2,000ไร่ นี้ไว้และด้วยความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง . บึงฉวากจึงถูกจัดให้เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2541 ลักษณะที่เรียกมีบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ กว้างไกล สุดสายตาว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตาม อนุสัญญาแรมซาร์นั้นก็คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าวที่เป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตรบึงฉวากนั้นเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสายน้ำท่าจีน เมื่อผ่านระยะเวลาและการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงทำให้ส่วนหนึ่งของแม่น้ำแยกตัวออกมาเป็นบึงรูปโค้ง มีขนาดใหญ่กินพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ก่อนหน้าที่จะประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้น ได้เข้ามาบุกเบิกพัฒนาพื้นที่รอบบึงเมื่อปี พ.ศ.2525 และเห็นว่าบึงฉวากมีธรรมชาติสวยงาม มีนกน้ำจำนวนมากมายอาศัยอยู่ จึงได้ประสานงานไปยังกรมป่าไม้ นับตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2526 เป็นต้นมาเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวากจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นครอบคลุมพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร บึงฉวากรับน้ำจากคลองและทุ่งนาใกล้ๆ จึงมีตะกอนดินโคลนไหลเข้ามาทำให้บึงตื้นเขินนานเข้าพืชน้ำก็ขึ้นรก และเกิดน้ำเน่าเสีย ในปี 2537 จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สภาพธรรมชาติในบึงฉวาก บึงฉวากเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลายชนิด สังคมพืชและสัตว์ที่พบในบึงและบริเวณโดยรอบ ต่างเอื้อต่อการดำรงอยู่ของกันและกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เช่น นกอีโก้ง เป็นนกน้ำที่มีสีน้ำเงินอมม่วงสวยงาม ตัวใหญ่ ขายาวนิ้วตีนยาวเอาไว้เดินบนจอกหรือใบบัวโดยเฉพาะ อาหารโปรดของนกอีโก้ง ได้แก่ หอยโข่ง หอยเชอรี่ ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดศัตรูในนาข้าวไปโดยปริยายส่วนตามชายบึงที่มี พงอ้อ แขม ธูปฤาษี หญ้าชนิดต่างๆ มักจะมีนกน้ำหลายชนิดอาศัยทำรัง เพราะช่วยพรางตาได้ดี และบริเวณใต้น้ำก็มีพืชน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นแหล่งวางไข่ของปลาและแมลง ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำและเป็นอาหารของพวก เต่า ปลา นกน้ำ เมื่อดูบนฝั่งจะเห็นว่ามีพวกไม้ยืนต้น เช่น ตะขบน้ำ จิก สะแกนา ไผ่ พุทรา มะขามเทศ พืชเหล่านี้นอกจากจะช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่งแล้วยังเป็นที่ให้นกอาศัยสร้างรังวางไข่ เช่น นกเขา นกกระจาบนกที่อพยพมาอยู่ที่บึงฉวากทุกปี คือ เป็ดแดง ซึ่งจะเริ่มเห็นข้ามมาอยู่ที่บึงฉวากเป็นฝูง ใหญ่ในช่วงฤดูหนาวตอนกลางวันเราจะเห็นเป็ดแดงหลบพักอยู่ตามกอบัว พอตอนเย็นช่วงใกล้ค่ำก็จะบินโผขึ้นเป็นฝูงใหญ่ออกไปหากินตามทุ่งนา เวลามองไกลๆ จะเห็นว่าบินช้าหัวและคอจะหอยต่ำกว่าลำตัง พร้อมกับส่งเสียงวี๊ด วี๊ด นกเป็ดแดงที่เห็นในบ้านเรามีทั้งที่เป้นนกประจำถิ่นและย้ายถิ่นเข้ามาช่วงฤดูหนาว อาศัยตามทุ่งนา หนองบึง และทะเลสาบทั่วประเทศ พวกที่เป็นนกอพยพจะทยอยบินกลับในเดือนเมษายน และ นกปากห่าง ซึ่งเป้ฯนกขนาดใหญ่ ขนสีเทาเกือบทั้งตัวที่สะโพก ขอบปีก และหางเป็นสีดำ ปากใหญ่ เวลาหุบปากตรงกลางปากจะไม่ติดกัน ทำให้คาบหอยโข่งหรือหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นอาหารโปรดได้ถนัด นกปากห่างเป็นนกที่อพยพเข้ามาประมาณช่วยเดือนตุลาคม หากินและเลี้ยงลูกจนโตจึงจะพากันบินอพยพกลับราวๆ เดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีนกน้ำหลายชนิดที่ชองทำรังเป็นกลุ่มและอยู่ปะปนรวมกันบนกออ้อกอพง และต้นไม้ต้นเดียวกันหรือต้นใกล้ๆ กันเช่น นกแขวก นกกระทุง นกยางควาย นกยางกรอก นกยางเปีย นกยางโทนใหญ่ นกช้อนหอยขาว นกกาน้ำเล็ก โดยสร้างรังด้วยใบอ้อ ใบพงหรือกิ่งไม้เล็กๆ แบบหยาบๆ เป็นกลุ่ม เพื่อช่วยกันระวังภัยและหาอาหารอยู่ตามบึงหรือทุ่งนา เช่น ปลา กบ เขียด กุ้ง หอย ปู แมลง หนู และงูธรรมชาติอันงดงามทั้งหลายเหล่านี้ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวใน บึงฉวากและจะบันทึกอยู่เป็นความทรงจำที่สวยงามของทุกท่านตลอดไป นานเท่านาน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.suphanburi.go.th
การเดินทางโดยรถยนต์เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 160 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ 2 ทาง คือ1. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง สามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนนจนพบ สะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้ว ตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก2. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 151 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้าม สะพานบึงฉวากแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลอง ชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทาน ซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถขึ้นรถโดยสารสถานีหมอชิต – ท่าช้าง หรือสถานีรถ สายใต้ – ท่าช้าง แล้วสงที่ อำเภอเดิมบางนางบวช จากนั้นต้องเหมารถ ไปที่บึงฉวากอีกต่อหนึ่ง
บึงฉวาก/
เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวาก มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอ เดิมบางนางบวช มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น
http://www.moohin.com/019/019m005.shtmlริมบึงฉวากมีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายตลอด ในบริเวณบึง เต็มไปด้วยดอกบัวสีแดงและชมพู ในช่วงตอนเช้าบัวจะบานสวยงาม นกเป็ดแดงฝูงใหญ่จับกลุ่มอยู่ตามกอบัวในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและนกจะทยอยกลับในช่วงเดือนเมษายน มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีบริการขี่จักรยานน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตกางเต็นท์พักแรมริมบึง ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาบึงฉวาก ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแล เช่น สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายากเอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 2 อาคาร อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 1 จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิด เช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงามบรรจุน้ำได้กว่า 400 ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลาได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 10.00–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 09.00–18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9208-9, 0 3543 9190 โทรสาร 0 3543 9208 บ่อจระเข้น้ำจืด เป็นบ่อจระเข้ที่ได้จำลองให้มีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยขนาด 1.5–4.0 เมตร ประมาณ 60 ตัว ซึ่งผู้ชมจะได้เห็นความเป็นอยู่แบบธรรมชาติของจระเข้และสามารถเข้าชมอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ประกอบไปด้วย อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ การดูนก สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของบึงฉวาก มีตู้จำลองระบบนิเวศ ห้องฉายสไลด์วิดีทัศน์ ด้านนอกอาคารมี กรงเลี้ยงนก ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ สูง 25 เมตร ภายในกรงได้รับการตกแต่งให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ
ประกอบด้วยนกกว่า 45 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกาบบัว นกเป็ดแดง ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีการจำลองน้ำตกขนาดเล็กเอาไว้ภายในกรง ผู้เข้าชมจะเดินตามทางเดินที่จัดไว้และได้สัมผัสใกล้ชิดกับนกต่างๆ ที่ปล่อยให้มีชีวิตอยูในสภาพแบบธรรมชาติเดินผ่านหน้าเราไป หากเดินถัดไปจากกรงนก จะเป็นกรงเสือขนาดใหญ่ กรงเสือขนาดเล็ก มีเสือชนิดต่างๆให้ชมและ ที่พิเศษคือ มีลูกเสือดูดนมหมู และสัตว์สวยงามอีกหลายชนิด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00–16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00–18.00 น. โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก โทร. 0 3548 1250กรงเสือและสิงโต ลักษณะภายในตกแต่งเป็นถ้ำและเนินหินให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรงเลี้ยงสัตว์ป่าตระกูลแมว อันได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว แมวดาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกรงสัตว์ป่าหายากอีกหลายประเภทที่จัดแสดงไว้ เช่น นกน้ำ นกยูงและไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ม้าลาย อูฐ และนกกระจอกเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 โทรสาร 0 3543 9210
อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ เฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน โดยรวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วภูมิภาคของประเทศไทยกว่า 500 ชนิด มาปลูกไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงฉวาก มีทั้งสมุนไพร ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก และไม้ชื้นแฉะที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ อุโมงค์น้ำพุ และการจัดสวนไม้ประดับด้วยผักพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินจัดแสดงให้ชมด้วย และมีห้องสมุดบริการคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้าข้อมูลพันธุ์ผักต่างๆ ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรอุทยานผักพื้นบ้านฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1948 9214, 0 9836 1358 โทรสาร 0 3543 9208 หรือ สำนักงานเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 0 3557 8061
การเดินทาง จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทาง คือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทานอีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 340 หลักกิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือจะเห็นโรงเรียนวัดเดิมบางนางบวช ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียน ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบึงฉวาก
"บึงฉวาก" สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา
ชั่วโมงสุดท้ายของวันทำงาน คือสิ่งที่หลายคนเร่งให้ผ่านพ้นไปเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้พบกับช่วงเวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่แม้จะมีเพียงแค่ ๔๘ ชั่วโมง หากแต่ก็มากพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังโต๊ะทำงาน กับสถานที่พักผ่อนที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ
สุพรรณบุรี คือหนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวที่ที่อยู่ในสเปคดังกล่าว แถมยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี นอกจากเรื่องราวในอดีตของจังหวัดสุพรรณบุรี จะเป็นที่น่าสนใจแล้ว สิ่งที่เป็นไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งของ จังหวัดสุพรรณฯ ในวันนี้ก็คือ "บึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติ" ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๓ ตำบลของอำเภอเดิมบางนางบวช
ส่วนด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีความกว้างเฉลี่ย ๔๑๓ เมตรยาว ๖๕ กิโลเมตร ลึก ๒.๕ เมตร ความยาวโดยรอบบึงประมาณ ๑๕ กิโลเมตร รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๕๕๐ ไร่ กักเก็บน้ำได้ประมาณ ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร
ปัจจุบัน บึงฉวากได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ หรือ Underwater World ซึ่งเป็นโครงการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๕๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
ภายในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ได้รับการแบ่งโซนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำออกเป็น ๒ หลัง โดยหลังที่หนึ่งจะจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด และน้ำเค็มที่น่าสนใจ ไปจนถึงพันธุ์ปลาที่หาดูได้ยากในประเทศไทย ซึ่งก็มีทั้ง ปลาบึก ปลาม้า ปลาเสือตอ ฯลน รวมถึงปลาสวยงามชนิดต่างๆ อีกมากมาย ที่บางตัวก็มีรูปร่างประหลาด และเรียกความสนใจจากนักท่องเที่ยว ให้มาออกันอยู่น่าตู้กระจกอย่างไม่ว่างเว้น
ส่วนอาคารหลังที่สอง นักท่องเที่ยวจะได้พบกับตู้ปลาขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำได้ถึง ๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยมีอุโมงค์ยาวประมาณ ๘.๕ เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย
โดยภายในอุโมงค์จะมีพันธุ์ปลาน้ำจืดให้ศึกษากว่า ๒๒ สายพันธุ์เลยทีเดียว เป็นต้นว่า ปลาบึกขนาดใหญ่ ที่แวกว่ายอวดความงามให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพไปเป็นที่ระลึก รวมถึงการแสดงการให้อาหารปลาโดยนักประดาน้ำหญิงให้นักท่องเที่ยวได้ชมทุกวัน
นอกจากนี้ในส่วนโซน ๒ ของอาคารหลังนี้ ยังมีตู้ปลาขนาด ๑ ตัน อีก ๓๐ ตู้ และมีปลาสีสันสวยงาม รวมถึงปลารูปร่างแปลกอีกกว่า ๖๐ ชนิด ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลิน อาทิ ปลาไหลไฟฟ้า ปลากลับหัว ฯลฯ
"ภาพของบึงฉวากวันนี้ พร้อมแล้วครับสำหรับนักท่องเที่ยว คือเรามีโซนต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมมากมาย ซึ่งนอกจากโลกใต้น้ำแล้ว บนพื้นดิน เราก็มีสวนสัตว์ และอุทยานผักพื้นบ้าน ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเที่ยวชม"
"และอนาคตอันใกล้นี้ เราจะมีอาคารหลังที่สามเกิดขึ้น เป็นลักษณะอุโมงค์น้ำเค็ม ซึ่งมีขนาดความยาวกว่าอุโมงค์ปลาน้ำจืด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสามปีข้างหน้า" ประสิทธิ์ เวทประสิทธิ์ นักวิชาการประมง ที่ดูแลสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ พูดถึงโครงการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่บึงฉวาง
ระยะเวลากว่า ๓ ชั่วโมง สำหรับการท่องโลกใต้บาดาลที่บึงฉวาก ฟังดูอาจจะค่อนข้างนานในความรู้สึกของหลายๆ คน แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าลองได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง แล้วจะรู้ว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นทำไมถึงผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน
การเดินทางโดยรถยนต์ เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ ๒ ทางคือ
๑. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๔๗ ด้านซ้ายมือจะมีป้างทางเข้าบึงฉวาก และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไป เมื่อถึง ๓ แยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพาน แล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
๒. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๕๑ ด้านซ้ายมือจะมีป้ายทางเข้าบึงฉวาก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้ามสะพานบึงฉวาก แล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง ๓ แยก ตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
ค่าบัตรเข้าชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท / เด็ก ๑๐ บาท สอบถามรายละเอียดโทร. ๐-๓๕๔๓-๙๒๐๘-๙
ที่มา : "เที่ยวรอบทิศ : " บึงฉวาก " สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา." ผู้จัดการ. (๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗) หน้า ๓๖
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://info.stc.ac.th/technic/pege_1.htm และภาพ+ข้อมูลจาก http://weblibrary.rimc.ac.th
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.spo.moph.go.th/tour/chavak/chavak.htm
เปิดบริการ >>วันธรรมดา เวลา 10.00-17.00 น. วันหยุดราชการ เวลา 9.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
บนเส้นทางระหว่างอำเภอเดิมบาง- นางบวชจังหวัดสุพรรณบุรีไปอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทกลางบึงเต็มไปด้วย ดอกบัวหลวง ทั้งสีขาวและสีชมพู และในราวเดือนกันยายน – พฤษภาคม จะเห็นเป็ดแดงฝูงใหญ่ลอยตัวจับกลุ่มอยู่ตามกอบัว ที่นี่คือ “บึงฉวาก” ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ ปี 252 เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ในพื้นที่ร่วม 2,000ไร่ นี้ไว้และด้วยความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง . บึงฉวากจึงถูกจัดให้เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2541 ลักษณะที่เรียกมีบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ กว้างไกล สุดสายตาว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตาม อนุสัญญาแรมซาร์นั้นก็คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าวที่เป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตรบึงฉวากนั้นเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสายน้ำท่าจีน เมื่อผ่านระยะเวลาและการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงทำให้ส่วนหนึ่งของแม่น้ำแยกตัวออกมาเป็นบึงรูปโค้ง มีขนาดใหญ่กินพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ก่อนหน้าที่จะประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้น ได้เข้ามาบุกเบิกพัฒนาพื้นที่รอบบึงเมื่อปี พ.ศ.2525 และเห็นว่าบึงฉวากมีธรรมชาติสวยงาม มีนกน้ำจำนวนมากมายอาศัยอยู่ จึงได้ประสานงานไปยังกรมป่าไม้ นับตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2526 เป็นต้นมาเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวากจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นครอบคลุมพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร บึงฉวากรับน้ำจากคลองและทุ่งนาใกล้ๆ จึงมีตะกอนดินโคลนไหลเข้ามาทำให้บึงตื้นเขินนานเข้าพืชน้ำก็ขึ้นรก และเกิดน้ำเน่าเสีย ในปี 2537 จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สภาพธรรมชาติในบึงฉวาก บึงฉวากเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลายชนิด สังคมพืชและสัตว์ที่พบในบึงและบริเวณโดยรอบ ต่างเอื้อต่อการดำรงอยู่ของกันและกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เช่น นกอีโก้ง เป็นนกน้ำที่มีสีน้ำเงินอมม่วงสวยงาม ตัวใหญ่ ขายาวนิ้วตีนยาวเอาไว้เดินบนจอกหรือใบบัวโดยเฉพาะ อาหารโปรดของนกอีโก้ง ได้แก่ หอยโข่ง หอยเชอรี่ ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดศัตรูในนาข้าวไปโดยปริยายส่วนตามชายบึงที่มี พงอ้อ แขม ธูปฤาษี หญ้าชนิดต่างๆ มักจะมีนกน้ำหลายชนิดอาศัยทำรัง เพราะช่วยพรางตาได้ดี และบริเวณใต้น้ำก็มีพืชน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นแหล่งวางไข่ของปลาและแมลง ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำและเป็นอาหารของพวก เต่า ปลา นกน้ำ เมื่อดูบนฝั่งจะเห็นว่ามีพวกไม้ยืนต้น เช่น ตะขบน้ำ จิก สะแกนา ไผ่ พุทรา มะขามเทศ พืชเหล่านี้นอกจากจะช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่งแล้วยังเป็นที่ให้นกอาศัยสร้างรังวางไข่ เช่น นกเขา นกกระจาบนกที่อพยพมาอยู่ที่บึงฉวากทุกปี คือ เป็ดแดง ซึ่งจะเริ่มเห็นข้ามมาอยู่ที่บึงฉวากเป็นฝูง ใหญ่ในช่วงฤดูหนาวตอนกลางวันเราจะเห็นเป็ดแดงหลบพักอยู่ตามกอบัว พอตอนเย็นช่วงใกล้ค่ำก็จะบินโผขึ้นเป็นฝูงใหญ่ออกไปหากินตามทุ่งนา เวลามองไกลๆ จะเห็นว่าบินช้าหัวและคอจะหอยต่ำกว่าลำตัง พร้อมกับส่งเสียงวี๊ด วี๊ด นกเป็ดแดงที่เห็นในบ้านเรามีทั้งที่เป้นนกประจำถิ่นและย้ายถิ่นเข้ามาช่วงฤดูหนาว อาศัยตามทุ่งนา หนองบึง และทะเลสาบทั่วประเทศ พวกที่เป็นนกอพยพจะทยอยบินกลับในเดือนเมษายน และ นกปากห่าง ซึ่งเป้ฯนกขนาดใหญ่ ขนสีเทาเกือบทั้งตัวที่สะโพก ขอบปีก และหางเป็นสีดำ ปากใหญ่ เวลาหุบปากตรงกลางปากจะไม่ติดกัน ทำให้คาบหอยโข่งหรือหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นอาหารโปรดได้ถนัด นกปากห่างเป็นนกที่อพยพเข้ามาประมาณช่วยเดือนตุลาคม หากินและเลี้ยงลูกจนโตจึงจะพากันบินอพยพกลับราวๆ เดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีนกน้ำหลายชนิดที่ชองทำรังเป็นกลุ่มและอยู่ปะปนรวมกันบนกออ้อกอพง และต้นไม้ต้นเดียวกันหรือต้นใกล้ๆ กันเช่น นกแขวก นกกระทุง นกยางควาย นกยางกรอก นกยางเปีย นกยางโทนใหญ่ นกช้อนหอยขาว นกกาน้ำเล็ก โดยสร้างรังด้วยใบอ้อ ใบพงหรือกิ่งไม้เล็กๆ แบบหยาบๆ เป็นกลุ่ม เพื่อช่วยกันระวังภัยและหาอาหารอยู่ตามบึงหรือทุ่งนา เช่น ปลา กบ เขียด กุ้ง หอย ปู แมลง หนู และงูธรรมชาติอันงดงามทั้งหลายเหล่านี้ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวใน บึงฉวากและจะบันทึกอยู่เป็นความทรงจำที่สวยงามของทุกท่านตลอดไป นานเท่านาน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.suphanburi.go.th
การเดินทางโดยรถยนต์เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 160 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ 2 ทาง คือ1. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง สามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนนจนพบ สะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้ว ตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก2. บนทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 151 ด้านซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้าม สะพานบึงฉวากแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลอง ชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทาน ซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถขึ้นรถโดยสารสถานีหมอชิต – ท่าช้าง หรือสถานีรถ สายใต้ – ท่าช้าง แล้วสงที่ อำเภอเดิมบางนางบวช จากนั้นต้องเหมารถ ไปที่บึงฉวากอีกต่อหนึ่ง
บึงฉวาก/
เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวาก มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอ เดิมบางนางบวช มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น
http://www.moohin.com/019/019m005.shtmlริมบึงฉวากมีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายตลอด ในบริเวณบึง เต็มไปด้วยดอกบัวสีแดงและชมพู ในช่วงตอนเช้าบัวจะบานสวยงาม นกเป็ดแดงฝูงใหญ่จับกลุ่มอยู่ตามกอบัวในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและนกจะทยอยกลับในช่วงเดือนเมษายน มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีบริการขี่จักรยานน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตกางเต็นท์พักแรมริมบึง ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาบึงฉวาก ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแล เช่น สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายากเอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 2 อาคาร อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 1 จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิด เช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงามบรรจุน้ำได้กว่า 400 ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลาได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 10.00–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 09.00–18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9208-9, 0 3543 9190 โทรสาร 0 3543 9208 บ่อจระเข้น้ำจืด เป็นบ่อจระเข้ที่ได้จำลองให้มีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยขนาด 1.5–4.0 เมตร ประมาณ 60 ตัว ซึ่งผู้ชมจะได้เห็นความเป็นอยู่แบบธรรมชาติของจระเข้และสามารถเข้าชมอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ประกอบไปด้วย อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ การดูนก สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของบึงฉวาก มีตู้จำลองระบบนิเวศ ห้องฉายสไลด์วิดีทัศน์ ด้านนอกอาคารมี กรงเลี้ยงนก ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ สูง 25 เมตร ภายในกรงได้รับการตกแต่งให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ
ประกอบด้วยนกกว่า 45 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกาบบัว นกเป็ดแดง ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีการจำลองน้ำตกขนาดเล็กเอาไว้ภายในกรง ผู้เข้าชมจะเดินตามทางเดินที่จัดไว้และได้สัมผัสใกล้ชิดกับนกต่างๆ ที่ปล่อยให้มีชีวิตอยูในสภาพแบบธรรมชาติเดินผ่านหน้าเราไป หากเดินถัดไปจากกรงนก จะเป็นกรงเสือขนาดใหญ่ กรงเสือขนาดเล็ก มีเสือชนิดต่างๆให้ชมและ ที่พิเศษคือ มีลูกเสือดูดนมหมู และสัตว์สวยงามอีกหลายชนิด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00–16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00–18.00 น. โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก โทร. 0 3548 1250กรงเสือและสิงโต ลักษณะภายในตกแต่งเป็นถ้ำและเนินหินให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรงเลี้ยงสัตว์ป่าตระกูลแมว อันได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว แมวดาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกรงสัตว์ป่าหายากอีกหลายประเภทที่จัดแสดงไว้ เช่น นกน้ำ นกยูงและไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ม้าลาย อูฐ และนกกระจอกเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 โทรสาร 0 3543 9210
อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ เฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน โดยรวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วภูมิภาคของประเทศไทยกว่า 500 ชนิด มาปลูกไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงฉวาก มีทั้งสมุนไพร ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก และไม้ชื้นแฉะที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ อุโมงค์น้ำพุ และการจัดสวนไม้ประดับด้วยผักพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินจัดแสดงให้ชมด้วย และมีห้องสมุดบริการคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้าข้อมูลพันธุ์ผักต่างๆ ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรอุทยานผักพื้นบ้านฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1948 9214, 0 9836 1358 โทรสาร 0 3543 9208 หรือ สำนักงานเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 0 3557 8061
การเดินทาง จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทาง คือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทานอีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 340 หลักกิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือจะเห็นโรงเรียนวัดเดิมบางนางบวช ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียน ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบึงฉวาก
"บึงฉวาก" สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา
ชั่วโมงสุดท้ายของวันทำงาน คือสิ่งที่หลายคนเร่งให้ผ่านพ้นไปเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้พบกับช่วงเวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่แม้จะมีเพียงแค่ ๔๘ ชั่วโมง หากแต่ก็มากพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังโต๊ะทำงาน กับสถานที่พักผ่อนที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ
สุพรรณบุรี คือหนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวที่ที่อยู่ในสเปคดังกล่าว แถมยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี นอกจากเรื่องราวในอดีตของจังหวัดสุพรรณบุรี จะเป็นที่น่าสนใจแล้ว สิ่งที่เป็นไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งของ จังหวัดสุพรรณฯ ในวันนี้ก็คือ "บึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติ" ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๓ ตำบลของอำเภอเดิมบางนางบวช
ส่วนด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีความกว้างเฉลี่ย ๔๑๓ เมตรยาว ๖๕ กิโลเมตร ลึก ๒.๕ เมตร ความยาวโดยรอบบึงประมาณ ๑๕ กิโลเมตร รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๕๕๐ ไร่ กักเก็บน้ำได้ประมาณ ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร
ปัจจุบัน บึงฉวากได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ หรือ Underwater World ซึ่งเป็นโครงการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๕๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
ภายในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ได้รับการแบ่งโซนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำออกเป็น ๒ หลัง โดยหลังที่หนึ่งจะจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด และน้ำเค็มที่น่าสนใจ ไปจนถึงพันธุ์ปลาที่หาดูได้ยากในประเทศไทย ซึ่งก็มีทั้ง ปลาบึก ปลาม้า ปลาเสือตอ ฯลน รวมถึงปลาสวยงามชนิดต่างๆ อีกมากมาย ที่บางตัวก็มีรูปร่างประหลาด และเรียกความสนใจจากนักท่องเที่ยว ให้มาออกันอยู่น่าตู้กระจกอย่างไม่ว่างเว้น
ส่วนอาคารหลังที่สอง นักท่องเที่ยวจะได้พบกับตู้ปลาขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำได้ถึง ๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยมีอุโมงค์ยาวประมาณ ๘.๕ เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย
โดยภายในอุโมงค์จะมีพันธุ์ปลาน้ำจืดให้ศึกษากว่า ๒๒ สายพันธุ์เลยทีเดียว เป็นต้นว่า ปลาบึกขนาดใหญ่ ที่แวกว่ายอวดความงามให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพไปเป็นที่ระลึก รวมถึงการแสดงการให้อาหารปลาโดยนักประดาน้ำหญิงให้นักท่องเที่ยวได้ชมทุกวัน
นอกจากนี้ในส่วนโซน ๒ ของอาคารหลังนี้ ยังมีตู้ปลาขนาด ๑ ตัน อีก ๓๐ ตู้ และมีปลาสีสันสวยงาม รวมถึงปลารูปร่างแปลกอีกกว่า ๖๐ ชนิด ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลิน อาทิ ปลาไหลไฟฟ้า ปลากลับหัว ฯลฯ
"ภาพของบึงฉวากวันนี้ พร้อมแล้วครับสำหรับนักท่องเที่ยว คือเรามีโซนต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมมากมาย ซึ่งนอกจากโลกใต้น้ำแล้ว บนพื้นดิน เราก็มีสวนสัตว์ และอุทยานผักพื้นบ้าน ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเที่ยวชม"
"และอนาคตอันใกล้นี้ เราจะมีอาคารหลังที่สามเกิดขึ้น เป็นลักษณะอุโมงค์น้ำเค็ม ซึ่งมีขนาดความยาวกว่าอุโมงค์ปลาน้ำจืด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสามปีข้างหน้า" ประสิทธิ์ เวทประสิทธิ์ นักวิชาการประมง ที่ดูแลสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ พูดถึงโครงการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่บึงฉวาง
ระยะเวลากว่า ๓ ชั่วโมง สำหรับการท่องโลกใต้บาดาลที่บึงฉวาก ฟังดูอาจจะค่อนข้างนานในความรู้สึกของหลายๆ คน แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าลองได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง แล้วจะรู้ว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นทำไมถึงผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน
การเดินทางโดยรถยนต์ เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐) ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ ๒ ทางคือ
๑. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๔๗ ด้านซ้ายมือจะมีป้างทางเข้าบึงฉวาก และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไป เมื่อถึง ๓ แยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพาน แล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
๒. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๕๑ ด้านซ้ายมือจะมีป้ายทางเข้าบึงฉวาก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้ามสะพานบึงฉวาก แล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง ๓ แยก ตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก
ค่าบัตรเข้าชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท / เด็ก ๑๐ บาท สอบถามรายละเอียดโทร. ๐-๓๕๔๓-๙๒๐๘-๙
ที่มา : "เที่ยวรอบทิศ : " บึงฉวาก " สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา." ผู้จัดการ. (๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗) หน้า ๓๖
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://info.stc.ac.th/technic/pege_1.htm และภาพ+ข้อมูลจาก http://weblibrary.rimc.ac.th
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.spo.moph.go.th/tour/chavak/chavak.htm
เปิดบริการ >>วันธรรมดา เวลา 10.00-17.00 น. วันหยุดราชการ เวลา 9.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
แดนดินถิ่นเดิมบาง
พระอาจารย์ธรรมโชติลือนามอุทยานงามบึงฉวาก ของฝากผ้าทอมือ
เลื่องลืองานยกธง สลักไผ่ตรงท่าช้าง
เขานมนางเลื่องเล่า
เขานมนางเลื่องเล่า
หัวเขาเทโวดัง
ตำนานย่านอำเภอเดิมบางนางบวช
ตำนานย่านเดิมบางนางบวชนี้ เล่ากันหลายสำนวนแต่สำนวนต่างๆก็มีสาระคล้ายๆกัน ผมจะขอเล่าสำนวนนี้ก็แล้วกันลองอ่านดูนะครับ
บ้านเดิมบาง แต่ก่อนเรียกบ้านเดิมนาง เป็นถิ่นกำเนิดของสาวงามคนหนึ่ง ชื่อใดไม่ปรากฏแต่บางสำนวนระบุว่าชื่อนางพิมสุลาไลย เนื่องจากความงามของนางจึงทำให้มีผู้ชายหมายปองมากมาย แต่นางกลับเบื่อหน่ายในโลกีย์ จึงหนีไปจากบ้านเดิมนาง ขึ้นไปบำเพ็ญพรหมจรรย์อยู่บนภูเขา ทำงานทอหูก(เครื่องทอผ้า)เมื่อยามว่างก็นั่งกรอไนปั่นฝ้ายไปเรื่อย
ครั้งนั้นยังมีพรานป่าคนหนึ่งชื่อตาสีนนท์(บ้างเขียนสีนน บ้างก็เขียนศรีนนท์) แกเป็นโรคเรื้อน ผิวกายเป็นหนองเปรอะเปื้อน จึงอยู่เป็นโสด ยึดอาชีพต่อไก่ป่า วันหนึ่งแกเดินผ่านมาเห็นสาวงามคนนี้เข้า ก็เกิดความรักใคร่ต้องการจะได้นางมาเชยชม จึงเอาไก่ต่อผูกกับแท่งหินเป็นหลักไว้ แล้วเสกอาวุธประจำกาย เป็นงูเห่าเลื้อยขึ้นไปหานาง นางตกใจเห็นจวนตัวจึงขยำคองูแน่น แล้วกำคองูตาสีนนท์มาเชือดจนเลือดกระจาย ตาสีนนท์เจ็บปวดร้องลั่นป่า บ้านย่านนั้นจึงได้ชื่อว่า “ บ้านกำมาเชือด “ ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้าน“ กำมะเชียร “
ส่วนสาวงามนั้นก็ร้องไห้เสียใจ เสียดายผลกุศลที่อุตส่าห์บำเพ็ญมา นางจึงเอามีดตัดนมทั้งสองข้างขว้างไป เลือดนางหลั่งไหลสร้างความเจ็บปวด นางวิ่งมาถึงภูเขาลูกหนึ่ง สุดทนเจ็บปวดได้จึงร้องโอดโอยครวญคราง ภูเขาลูกนั้นจึงมีชื่อว่า “เขานางโอย” นมทั้งสองข้างเกิดเป็นภูเขาเรียกว่า “เขานมนาง” ส่วนเขาที่สาวงามนั้นนั่งปั่นฝ้ายเรียกว่า”เขากี่”(แปลว่าเครื่องทอผ้า) ส่วนหลักผูกไก่ของตาสีนนท์ ปัจจุบันเขาว่าอยู่หน้าโรงเรียนกำมะเชียร
สาวงามนั้นไม่ตายเมื่อฟื้นขึ้นมา นางก็เดินไปพบแม่น้ำขวางหน้าไม่สามารถข้ามได้ แต่ด้วยผลกุศลที่นางเคยบำเพ็ญมา ทำให้เกิดเหตุมหัศจรรย์มีช้างสารเชือกใหญ่มารับนางไปส่งยังฝั่งตรงข้าม ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นต่อมาว่า”ท่าช้าง” นางได้อธิษฐานขอให้เทพยดาปลงผม และคิ้วให้ เขาตรงนั้นจึงเรียกว่า“เขาคิ้วนาง” แล้วสร้างศาลแทนตัวไว้ จากนั้นนางได้ลงเรือมา จิตใจเริ่มสบายเกิดความรื่นเริง แล้วจึงขึ้นพักที่ริมท่า บ้านนั้นจึงเรียกบ้าน”ท่านางเริง” แล้วเดินทางขึ้นภูเขาต่อไปภูเขานั้นจึงเรียกว่า”เขาขึ้น” แล้วนางจึงบวชชียังวัดในละแวกนั้น วัดนั้นจึงเรียกว่า “ วัดนางบวช “
เรื่องราวดังที่เล่ามาจึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอเดิมบางนางบวช
ตำนานย่านเดิมบางนางบวชนี้ เล่ากันหลายสำนวนแต่สำนวนต่างๆก็มีสาระคล้ายๆกัน ผมจะขอเล่าสำนวนนี้ก็แล้วกันลองอ่านดูนะครับ
บ้านเดิมบาง แต่ก่อนเรียกบ้านเดิมนาง เป็นถิ่นกำเนิดของสาวงามคนหนึ่ง ชื่อใดไม่ปรากฏแต่บางสำนวนระบุว่าชื่อนางพิมสุลาไลย เนื่องจากความงามของนางจึงทำให้มีผู้ชายหมายปองมากมาย แต่นางกลับเบื่อหน่ายในโลกีย์ จึงหนีไปจากบ้านเดิมนาง ขึ้นไปบำเพ็ญพรหมจรรย์อยู่บนภูเขา ทำงานทอหูก(เครื่องทอผ้า)เมื่อยามว่างก็นั่งกรอไนปั่นฝ้ายไปเรื่อย
ครั้งนั้นยังมีพรานป่าคนหนึ่งชื่อตาสีนนท์(บ้างเขียนสีนน บ้างก็เขียนศรีนนท์) แกเป็นโรคเรื้อน ผิวกายเป็นหนองเปรอะเปื้อน จึงอยู่เป็นโสด ยึดอาชีพต่อไก่ป่า วันหนึ่งแกเดินผ่านมาเห็นสาวงามคนนี้เข้า ก็เกิดความรักใคร่ต้องการจะได้นางมาเชยชม จึงเอาไก่ต่อผูกกับแท่งหินเป็นหลักไว้ แล้วเสกอาวุธประจำกาย เป็นงูเห่าเลื้อยขึ้นไปหานาง นางตกใจเห็นจวนตัวจึงขยำคองูแน่น แล้วกำคองูตาสีนนท์มาเชือดจนเลือดกระจาย ตาสีนนท์เจ็บปวดร้องลั่นป่า บ้านย่านนั้นจึงได้ชื่อว่า “ บ้านกำมาเชือด “ ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้าน“ กำมะเชียร “
ส่วนสาวงามนั้นก็ร้องไห้เสียใจ เสียดายผลกุศลที่อุตส่าห์บำเพ็ญมา นางจึงเอามีดตัดนมทั้งสองข้างขว้างไป เลือดนางหลั่งไหลสร้างความเจ็บปวด นางวิ่งมาถึงภูเขาลูกหนึ่ง สุดทนเจ็บปวดได้จึงร้องโอดโอยครวญคราง ภูเขาลูกนั้นจึงมีชื่อว่า “เขานางโอย” นมทั้งสองข้างเกิดเป็นภูเขาเรียกว่า “เขานมนาง” ส่วนเขาที่สาวงามนั้นนั่งปั่นฝ้ายเรียกว่า”เขากี่”(แปลว่าเครื่องทอผ้า) ส่วนหลักผูกไก่ของตาสีนนท์ ปัจจุบันเขาว่าอยู่หน้าโรงเรียนกำมะเชียร
สาวงามนั้นไม่ตายเมื่อฟื้นขึ้นมา นางก็เดินไปพบแม่น้ำขวางหน้าไม่สามารถข้ามได้ แต่ด้วยผลกุศลที่นางเคยบำเพ็ญมา ทำให้เกิดเหตุมหัศจรรย์มีช้างสารเชือกใหญ่มารับนางไปส่งยังฝั่งตรงข้าม ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นต่อมาว่า”ท่าช้าง” นางได้อธิษฐานขอให้เทพยดาปลงผม และคิ้วให้ เขาตรงนั้นจึงเรียกว่า“เขาคิ้วนาง” แล้วสร้างศาลแทนตัวไว้ จากนั้นนางได้ลงเรือมา จิตใจเริ่มสบายเกิดความรื่นเริง แล้วจึงขึ้นพักที่ริมท่า บ้านนั้นจึงเรียกบ้าน”ท่านางเริง” แล้วเดินทางขึ้นภูเขาต่อไปภูเขานั้นจึงเรียกว่า”เขาขึ้น” แล้วนางจึงบวชชียังวัดในละแวกนั้น วัดนั้นจึงเรียกว่า “ วัดนางบวช “
เรื่องราวดังที่เล่ามาจึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอเดิมบางนางบวช
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)